ตัวชี้วัดการเป็น THAILAND 4.0 : ดร.มนูญ พรรณพลีวรรณ
Highlights: รัฐบาลมีนโยบายที่ชัดเจนว่าต้องการยกระดับประเทศไทย ให้เป็น ไทยแลนด์ 4.0 แล้วอะไรบ้างที่จะเป็นสื่งที่บ่งบอกว่า เราพร้อมแล้ว โดยสามารถบ่งชี้ในแบบตัวชี้วัด เพื่อสร้างความเข้าใจเดียวกันนั่นเอง
Thailand 4.0 / ไทยแลนด์ 4.0 เป็นคำที่ได้ยินบ่อยมาในช่วงปัจจุบันนี้ เพราะเป็นนโยบายหลักที่รัฐบาลใช้ เพื่อยกระดับประเทศไทยให้ไปถึงในจุดนั้นให้ได้ ทำให้ทั้งภาครัฐ เอกชนและประชาชนที่มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งหมดมีส่วนร่วมในนโยบายดังกล่าว เพราะถือเป็นการดำเนินการที่สอดคล้องไปกับสถานการณ์ของประเทศต่างๆทั่วโลก ที่ต้องเร่งยกระดับในส่วนนี้เช่นกัน
ก่อนจะไปที่ Thailand 4.0 เราขอให้ข้อมูลวิวัฒนากรในรูปแบบ 1.0 / 2.0 และ 3.0 ให้ทราบกันก่อน โดยในแต่ละยุค จะมีรายละเอียดดังนี้
Thailand 1.0 คือยุคของเกษตรกรรม คนไทยปลูกข้าว พืชสวน พืชไร่ เลี้ยงหมู เป็ด ไก่ นำผลผลิตไปขาย สร้างรายได้และยังชีพ
Thailand 2.0 ซึ่งก็คือยุคอุตสาหกรรมเบา ในยุคนี้เรามีเครื่องมือเข้ามาช่วย เราผลิตเสื้อผ้า กระเป๋า เครื่องดื่ม เครื่องเขียน เครื่องประดับเป็นต้น ประเทศเริ่มมีศักยภาพมากขึ้น
Thailand 3.0 (ซึ่งเป็นยุคปัจจุบัน) เป็นยุคอุตสาหกรรมหนัก เราผลิตและขายส่งออกเหล็กกล้า รถยนต์ ก๊าซธรรมชาติ ปูนซีเมน เป็นต้น โดยใช้เทคโนโลยีจากต่างประเทศ เพื่อเน้นการส่งออก
ในช่วงแรก Thailand 3.0 เติบโตอย่างต่อเนื่อง แต่ปัจจุบันกลับเติบโตเพียงแค่ 3-4% ต่อปีเท่านั้น ประเทศไทยจึงตกอยู่ช่วงรายได้ปานกลางมาเป็นเวลากว่า 20 ปีแล้ว เพราะ ยังติดอยู่ในโมเดลเศรษฐกิจแบบ “ทำมาก แต่ได้น้อย” ในขณะที่ทั่วโลกมีการแข่งขันที่สูงขึ้น เราจึงต้องเปลี่ยนสู่ยุค Thailand 4.0 เพื่อให้ประเทศไทยให้กลายเป็นกลุ่มประเทศที่มีรายได้สูง จึงต้องการปรับเปลี่ยนเป็น “ทำน้อย แต่ได้มาก”
ก็จะต้องเปลี่ยนจากการผลิตสินค้า “โภคภัณฑ์” ไปสู่สินค้าเชิง “นวัตกรรม”
เมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลง ก็ต้องปรับใช้กลยุทธ์ใหม่ โดยการสร้างแผนกลยุทธ์จึงจำเป็นต้องมีตัวชี้วัด เพื่อที่จะตรวจสอบกลยุทธ์นั้นว่าสอดคล้องกับ Thailand4.0 จริงหรือไม่ โดย ดร.มนูญ พรรณพลีวรรณ ผู้เชี่ยวชาญ ด้านStrategy (กลยุทธ์) และ Leadership (ภาวะผู้นำ) ได้แสดงแนวคิดในจัดทำตัวชี้วัด ประกอบด้วย
M.I.T.S. Indicators
-
Mobile ธุรกรรม บริการและระบบการปฏิบัติงานทุกชนิดสามารถดำเนินการบน Mobile Phone หรือสามารถปฏิบัติงานจากที่ใดก็ได้ แบบ Real-time เหมือนระบบของ e-banking การซื้อของออนไลน์ หรือ การจองโรงแรมออนไลน์ เพื่อให้กระบวนการทำงานได้ตลอด 24 ชั่วโมง โดยมีระบบฐานข้อมูลรองรับ
-
Innovation การผลิตสินค้าและ บริการจะเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมที่สนองความต้องการในรูปแบบใหม่ๆ เพราะในยุคที่ทุกคนสามารถค้นหา ศึกษา และเปรียบเทียบ สินค้าหรือบริการต่าง ได้จากอินเตอร์เน็ต สินค้าและ บริการนั้นๆ จึงต้องตอบสนองลูกค้า ได้อย่างที่คาดหวังไว้ หรือเกินกว่าที่คาดหวัง
-
Technology การนำเทคโนโลยี่สมัยใหม่มาทดแทนกำลังคนในการผลิตสินค้าใหม่และสินค้าเก่าจะหายไปจากตลาดในที่สุด โรงงานผลิตต่างๆที่หุ่นยนต์เข้ามาแทนที่แรงงานคนมากขึ้นเรื่อยๆ ลดปัญหาต่างๆของคน หุ่นยนต์สามารถทำงานได้ 24 ชั่วโมง ไม่มีลาป่วย ไม่มีลาพักร้อน สามารถทำงานที่อันตรายได้ได้อย่างง่ายดาย แถมฝืมือดีกว่าใฃ้แรงงานคนอีกด้วย
-
Standardization การผลิตสินค้าและบริการจะต้องมีมาตราฐานรับรองที่เป็นสากลและทุกคนเข้าใจตรงกันทั่วโลก เมื่อคนทั่วโลกสามารถติดต่อถึงกันได้หมด การสั่งสินค้าจากต่างประเทศไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป มี กลุ่มเป้าหมายจากแค่ในประเทศกลายเป็นอยู่ทั่วโลก ดีกว่าไหม ที่จะลงทุนเสียเวลาพัฒนาต่อเพื่อไปสู่ตลาดสากล
จากตัวชี้วัดดังกล่าว ถือได้ว่าเป็นความท้าทายครั้งยิ่งใหญ่ขององค์กรทั้งภาครัฐและเอกชน ทั้งประเทศไทย รวมทั้งทั่วโลกด้วยเช่นกัน เพราะสุดท้ายไม่ว่าองค์กรใด ย่อมไม่พ้นการปรับเปลี่ยนเพื่อรับมือกับสถานการณ์ใหม่เช่นเดียวกัน
สรุป : ด้วยสถานการณ์ต่างๆที่เปลี่ยนแปลงทั่วโลก จากทั้งปัจจัยเรื่องระบบสื่อสาร เป็นหลัก และอื่นๆ ทำให้ความคิดและพฤติกรรมของมนุษย์มีความเปลี่ยนแปลงตามไปด้วย และอาจจะเป็นยุคที่เรียกได้ว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ที่สุดก็ว่าได้ หากองค์กรไม่สามารถปรับเปลี่ยนได้ทัน อาจเป็นเหตุให้การดำเนินการขององค์กรไม่เติบโต หรือ อาจจะถึงขั้นต้องยุติการดำเนินการก็เป็นได้
FYI : ในภาพรวมของทุกองค์กร ความเปลี่ยนแปลงคือ
- SME ไทย ถ้ายังไม่ปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ก็จะไม่สามารถอยู่รอดได้.
- Start Up ต้องออกแบบ Business Platform ที่สามารถทำธุรกรรมกับคนทั่วโลกได้โดยไม่เลือกเวลาและสถานที่
- ระบบราชการไทยต้องให้บริการแบบ Realtime ไม่ใช่ Clocktime อีกต่อไป
แหล่งข้อมูลอ้างอิง
- ดร.มนูญ พรรณพลีวรรณ
- https://www.it24hrs.com/2017/thailand-4-0/