Concept of iStrategy

เป้าหมายสูงสุด 

เป้าหมายสูงสุดหรือโจทย์ที่สำคัญขององค์กรนั้น คือ ประโยชน์ที่องค์กรได้รับเมื่อบรรลุผลสำเร็จตามที่ได้วางแผนระบบการทำงานไว้ตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ สำหรับแต่ละสถานการณ์ที่องค์กรต้องการบรรลุประโยชน์นั้นๆ

ทั้งนี้เพื่อให้ธุรกิจขององค์กรนั้นแข่งขันได้ (Competitive Advantage) ทั้งคุณค่าของสินค้าหรือบริการ ทั้งการสร้างรายได้/กำไรเพื่อให้คุ้มค่ากับการลงทุน (Return on Investment) รวมทั้ง อยู่ในธุรกิจตามตำแหน่งทางยุทธศาตร์ (Strategic Positioing) ที่ยั่งยืน

ซึ่งองค์กรจะต้องวางรากฐานและพัฒนาองค์กรในมิติต่างๆ จึงจะสามารถบริหารจัดการเพื่อการขับเคลื่อนองค์กรเพื่อให้บรรลุเป้าหมายสูงสุดหรือโจทย์ที่สำคัญขององค์กรนั้น นั่นเอง

3 ส่วนหลักๆในการบรรลุเป้าหมายสูงสุดหรือโจทย์ที่สำคัญขององค์กรขององค์กร

  • Ultimate Goal = คือเป้าหมายที่องค์กรต้องการตาม Vision / Mission / Passion
  • Solution = คือแนวทางการขับเคลื่อนไปสู่เป้าหมายที่องค์กรต้องการ (Strategic Management)
  • Performance = คือผลลัพธ์ที่ได้จากการขับเคลื่อนนั้น ว่ามีผลเป็นเช่นไร

โดยการขับเคลื่อนองค์กรจะเกิดขึ้นเมื่อ Top Management ได้ถ่ายทอดสิ่งเหล่านี้ ลงมาด้วยความชัดเจนทั้ง

  • Strategic Thinking (การคิดเชิงกลยุทธ์)
  • Strategy (กลยุทธ์องค์กรในประเภทและระดับต่างๆ)
  • Strategic Management (การบริหารจัดการเชิงกลยุทธ์)

ให้กับ Middle Management ตลอดจนถึง Front-Line Management เพื่อนำไปสู่การขับเคลื่อนองค์กรอย่างเป็นกระบวนระบบที่เป็นมืออาชีพ ทั้งในมิติสินค้าหรือบริการ (Product & Service) / มิติแผนธุรกิจ (Business Model) / มิติลูกค้ากลุ่มเป้าหมาย ( Market & Target)

แล้วนำไปสู่ เป้าหมายสูงสุดหรือโจทย์ที่สำคัญขององค์กร (Ultimate Goal) ได้อย่างแท้จริง ซึ่งการขับเคลื่อนอย่างเป็นกระบวนระบบนี้ จะเรียกว่า การบริหารจัดการเชิงกลยุทธ์ (Strategic Management)

โดยอ้างอิงจาก

  •  Vision เป็นอนาคตที่องค์กรต้องการที่จะเป็น..ในอนาคต
  •  Mission เป็นตัวตนขององค์กรที่องค์กรเป็นในปัจจุบัน

รวมทั้งอนาคตด้วย

  •  Passion เป็นแรงขับเคลื่อนขององค์กรในปัจจุบันที่จะมุ่งสู่อนาคต

ทั้งนี้ การบริหารจัดการองค์กรเชิงกลยุทธ์ (Strategic Management) เพื่อให้มีทิศทางที่ถูกต้อง (Direction) มีประสิทธิภาพสูง (Efficiency) และมีมาตรฐาน (Standard) ที่องค์กรกำหนดไว้ อย่างหลอมรวมเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันทั้งองค์กร ให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้

จึงควรเกิดจาก Vision-Mission-Passion จาก Top Management ถ่ายทอดไปสู่ Middle Management และ Front-Line Management

เพื่อนำไปปฏิบัติ แล้วเมื่อได้ปฏิบัติเรียบร้อยแล้ว ก็จะสามารถ Feedback กลับขึ้นมาสู่ Middle Management และ Top Management เช่นเดิมได้ ซึ่งจะเรียกได้ว่าเป็น การบริหารทั้ง Top-Down & Bottom Up นั่นเอง เพราะสิ่งสำคัญ คือ การหลอมรวมเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันทั้งองค์กร นั่นเอง

ซึ่งจะทำให้องค์กรเกิดการชับเคลื่อนอย่างเป็นกระบวนระบบ ทำให้เกิดการพัฒนาด้าน

  • ผลลัพธ์ของการปฏิบัติงานใหม่ๆ ที่ยอดเยี่ยมมากขึ้น (Outcome 10x)
  • นวัตกรรมใหม่ๆ (Innovation)
  • กลยุทธ์ใหม่ๆ (New Strategy)

ที่ถูกต้องและเหมาะสมองค์กร กับสถานการณ์ปัจจุบันจริงๆ โดยเฉพาะผู้ที่รับผิดชอบที่หน้างานของงานนั้น เพราะจะทำให้เข้าใจความท้าทาย/ปัญหาหรือเทรนด์ใหญ่ๆที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วตามแต่ละสถานการณ์

ซึ่งล้วนเป็นสิ่งที่เป็นประโยชน์กับองค์กรทั้งสิ้น ทั้งระยะสั้น ระยะกลาง ระยะยาว เพราะทุกระยะนั้น เกี่ยวข้องกับการพัฒนา การเติบโต และ ความยั่งยืนขององค์กรได้ทั้งหมด ทำให้ในท้ายที่สุด ทุกอย่างจะกลับไปส่งเสริมองค์กรตาม Strategic Positioing นั่นเอง

Strategic Management คืออะไร?

Strategic Management คือ การบริหารจัดการเชิงกลยุทธ์ ในที่นี้ iStrategy จะขอมุ่งเน้นที่การบริหารจัดการองค์กรทั้งในระดับ Corporate / Business / Operational เป็นสำคัญ

จะเห็นได้ว่า หากจะทำให้การบริหารจัดการนั้นบรรลุเป้าหมายหรือโจทย์สำคัญ จริงๆแล้วนั้น เป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อน โดยเฉพาะกับการบริหารจัดการองค์กรในสถานการณ์ต่างๆ ย่อมมีความท้าทายมากพอสมควร

การบริหารจัดการองค์กรเชิงกลยุทธ์ (ในแบบ iStrategy) คือ การบริหารจัดการองค์กรโดยผ่านการบูรณาการทั้งกระบวนระบบ โดยโจทย์สำคัญ คือ เพื่อให้ธุรกิจแข่งขันได้และชนะคู่แข่งในตลาดการแข่งขัน โดยมีผลลัพธ์ที่มีคุณค่า มีคุณภาพอย่างเพียงพอในระดับมาตรฐานขึ้นไปและเป็นรูปธรรมตั้งแต่ ต้นน้ำ กลางน้ำ ปลายน้ำที่สามารถวัดผลและประเมินผลได้ ทั้งนี้ ทุกกระบวนระบบจะขึ้นอยู่กับโจทย์ ศักยภาพและความสามารถของแต่ละองค์กรเป็นสำคัญ แตกต่างกันไป โดยมีสิ่งที่ต้องคำนึงถึงคือบริหารจัดการด้วยทรัพยากรในมิติต่างๆที่องค์กรกำหนดเอาไว้แล้ว

เนื่องจาก ในยุค After Covid19 ทรัพยากรทุกอย่างบนโลก มีข้อจำกัดมากยิ่งขึ้นอย่างมาก เมื่อทรัพยากรจำกัด การใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าที่สุด เพื่อให้องค์กรบรรลุโจทย์ คือทางออกที่สมเหตุสมผลและยั่งยืน

เพราะแนวคิดสำคัญมากของ Strategic Management คือ การทำน้อยแต่ได้มาก (Less is More) โดยมุ่งเน้นที่แนวคิดในเรื่องของการพัฒนาผลลัพธ์ที่มีคุณค่า มีคุณภาพ โดยการคิดที่ยึดคุณค่าเป็นหลัก (Value-Base Thinking) เพราะในท้ายที่สุดแล้ว กลุ่มลูกค้าหรือผู้บริโภคที่ต้องการในสินค้าและบริการก็จะย้อนกลับมาที่คุณค่า คุณภาพของสินค้าและบริการอย่างมีนัยยยะสำคัญเสมอ

Strategic Management ต้องคำนึงถึงอะไร?

Strategic Management – การบริหารจัดการองค์กรเชิงกลยุทธ์ ซึ่งมีทั้งประเภทและระดับของการบริหารจัดการองค์กร ตามสถานการณ์ขององค์กร ต้องคำนึงถึงโจทย์หลัก 4 ประเภท ได้แก่

1.โจทย์ที่สำคัญและเร่งด่วนที่องค์กร(หรือแต่ละฝ่าย)ต้องการบรรลุ

2.โจทย์ที่สำคัญและไม่เร่งด่วนที่องค์กร(หรือแต่ละฝ่าย)ต้องการบรรลุ

3.โจทย์ที่ไม่สำคัญและเร่งด่วนที่องค์กร(หรือแต่ละฝ่าย)ต้องการบรรลุ

4.โจทย์ที่ไม่สำคัญและไม่เร่งด่วนที่องค์กร(หรือแต่ละฝ่าย)ต้องการบรรลุ  (แต่ต้องทำ เนื่องจากความจำเป็นบางอย่าง)

ทั้งนี้ สถานการณ์ที่ทำให้เกิดโจทย์หลักนั้น อาจจะมาจาก 2 ประเด็นใหญ่ๆ คือ

มุมของความท้าทายไม่ว่าจะขนาดใหญ่หรือขนาดเล็ก (Challenge) ที่จะส่งผลไม่ดีกับองค์กรหรือมุมของเทรนด์ใหญ่ๆ (Megatrends & Impact) ที่เข้ามาใหม่และส่งผลดีกับองค์กร ในการขับเคลื่อน ในการบริหารจัดการองค์กร

Strategic Management มีประโยชน์อย่างไร?

(เนื่องจาก ในยุค After Covid19 ทรัพยากรทุกอย่างบนโลก มีข้อจำกัดมากยิ่งขึ้นอย่างมาก เมื่อทรัพยากรจำกัด การใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าที่สุด เพื่อให้องค์กรบรรลุโจทย์ คือทางออกที่สมเหตุสมผลและยั่งยืน)

โดยประโยชน์สำคัญมากๆของการบริหารจัดการองค์กรเชิงกลยุทธ์คือการบริหารจัดการทรัพยากรที่ถูกกำหนดไว้อย่างจำกัดเพื่อก่อให้เกิดประโยชน์และประสิทธิภาพขั้นสูงสุดในมิติต่างๆ อาทิ เช่น

1.ทรัพยากรด้านระยะเวลา – เพราะเวลาที่วางไว้ในแต่ละงานมีอย่างจำกัดมากๆ ไม่สามารถเพิ่มขึ้นได้อีก ถ้าแผนงานแล้วเสร็จตามระยะเวลา ก็จะทำให้องค์กรมีประสิทธิภาพสูงในการดำเนินการ เช่นกัน หากเลยกำหนดระยะเวลาไปจะมีผลเสียหายทั้งในภาพใหญ่และภาพย่อยขององค์กร

2.ทรัพยากรด้านงบประมาณ – หากการบริหารจัดการงบประมาณเป็นไปตามแผนจะทำให้การบริหารจัดการของงองค์กรมีประสิทธิภาพสูงมาก เพราะงบประมาณที่มีเพียงพอ ทำให้เป็นองค์กรที่มีสุขภาพที่ดี เช่นกัน งบประมาณที่วางไว้ ไม่สามารถขยายเพิ่มเติมได้ อาจจะไปกระทบกับงบประมาณส่วนอื่นที่สำคัญมากๆเช่นกัน ซึ่งประเด็นนี้เป็นประเด็นที่มีความสำคัญอย่างมาก เพราะมีส่วนเกี่ยวข้องกับ รายได้ (Revenue) กำไร (Profit) และ กำไรสุทธิหลังหักภาษี (Net Profit after Tax)

3.ทรัพยากรด้านบุคลากร – เพราะเนื่องด้วย บุคลากรที่ปฏิบัติหน้าที่มีอยู่อย่างจำกัด ทำให้ต้องวางแผนเพื่อปฏิบัติหน้าที่ในส่วนที่สำคัญที่สุดจริงๆ เป็นอันดับแรกๆ ทั้งนี้ ระบบด้านบุคลากร จะมีผลกับกระบวนการต่างๆของฝ่ายทรัพยการมนุษย์ด้วยเช่นเดียวกัน เนื่องจากปัจจุบัน ทรัพยากรมนุษย์เป็นสิ่งที่สำคัญอย่างมาก สำหรับการขับเคลื่อนองค์กร เพราะคน ทำให้องค์กรมีความหวังใหม่ๆในการขับเคลื่อนเข้าสู่ยุคใหม่

4.ทรัพยากรด้านอื่นๆ ที่ยังระบุได้ไม่ชัดเจนนัก แต่มีผลกระทบและเป็นอุปสรรคต่อการดำเนินการขององค์กร

โดยทั้งหมดนี้ จะส่งผลกับคุณภาพที่องค์กรต้องการ (ตามเป้าหมายสูงสุดหรือโจทย์ ที่องค์กรวางไว้ – เพราะคุณภาพที่องค์กรต้องการต้องอยู่ในระดับที่สูงเพียงพอที่จะสามารถขับเคลื่อนกระบวนระบบต่างๆต่อไปได้ เช่นกัน หากผลลัพธ์ไม่เป็นไปตามที่องค์กรต้องการ ย่อมทำให้กระบวนระบบต่างๆเกิดปัญหาตามมาได้อย่างมากมาย

Strategic Management ดำเนินการอย่างไร?

การจะทำให้เกิดการบริหารจัดการเช่นนี้ได้ ต้องมาจาการบูรณาการทางความคิดเป็นสำคัญ (Intergrade Logical Thinking) จนทำให้เกิดการคิดเชิงกลยุทธ์ (Strategic Thinking)

การบูรณาการทางความคิดที่ได้ประโยชน์สูงสุดนั้น (Value-Based Thinking) ต้องผ่านการคิดและวิเคราะห์ในมิติต่างๆอย่างรอบคอบ ถี่ถ้วน ละเอียด ละออ อย่างเพียงพอกับโจทย์ความต้องการขององค์กรในแต่ละประเภทและแต่ละระดับ แล้วจึงนำมาร้อยเรียงอย่างเป็นกระบวนระบบเพื่อให้เมื่อได้ทำการวางแผนและการลงมือทำแล้ว ผลลัพธ์ที่ได้นั้น จะเป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้ หรือ คลาดเคลื่อนจากเป้าหมายที่วางไว้ น้อยที่สุดตามการยอมรับได้ขององค์กร

การบูรณาการทางความคิดเปรียบเหมือนต้นน้ำที่มีคุณภาพสูงมากขององค์กรที่จะไหลผ่านลงมายังกลางน้ำ และ ปลายน้ำ (Cascading) ผ่านกลยุทธ์ (Strategy) ในรูปแบบต่างๆ มากมายหลากหลาย ทั้งประเภทและระดับของกลยุทธ์ โดยขึ้นอยู่กับสถานการณ์ที่สำคัญและเร่งด่วนขององค์กรมาเป็นอันดับแรกๆ เพื่อให้ลงไปที่

1.ผลลัพธ์ในแบบ Output (ผลลัพธ์นั้นแล้วเสร็จ อาจเป็นเพราะด้วยขีดจำกัดของทรัพยากรในมิติต่างๆขององค์กร จึงต้องการผลลัพธ์เพียงระดับนี้ไปก่อน)

2.ผลลัพธ์ในแบบที่ทุกองค์กรต้องการจริงๆ คือแบบ Outcome / Outcome 10x (ผลลัพธ์นั้นสำเร็จ) ส่วนผลลัพธ์ระดับนี้จะสำเร็จได้มากมายขนาดไหน ก็ขึ้นอยู่กับการบูรณาการทางความคิดที่มีนัยยะสำคัญและลึกซึ้งมากเพียงพอ ซึ่งจะนำไปสู่การคิดเพื่อมองเห็นเป้าหมาย (Visioning) การวางแผน (Planning) และ การลงมือทำ (Execution) ในท้ายที่สุดนั่นเอง

โดยเราจะจัดในรูปแบบการพัฒนาศักยภาพ (Potential) และความสามารถ (Performance) คือ Competency เป็นสำคัญ (คำที่แพร่หลาย อาจใช้คำว่า สมรรถนะ) โดยมุ่งเน้น เพื่อให้เกิดระบบความคิดแบบ Strategic Thinking เพื่อใช้ในการขับเคลื่อนองค์กรอย่างเป็นระบบ ที่เรียกว่า การบริหารองค์กรเชิงกลยุทธ์ (Strategic Management) นั่นเอง

Strategic Management มีขั้นตอนสำคัญดังต่อไปนี้

Strategic Management ช่วยแก้ปัญหาในเรื่องอะไรกับองค์กร?

จากสถานการณ์ขององค์กรที่เราจะประสบปัญหาหลักๆ มี 3 ส่วน จากการที่การบริหารจัดการองค์กร การขับเคลื่อนองค์กรไม่เป็นในรูปแบบ Strategic Management คือ

1. Structure โครงสร้างขององค์กรไม่ได้ถูกออกแบบให้ถูกต้องและเหมาะสมกับการบริหารจัดการรองค์กร จึงทำให้ไม่มีเจ้าภาพหลัก เจ้าภาพรองในการรับผิดชอบงานนั้น

2. Strategy กลยุทธ์ที่ไม่ได้ถูกออกแบบอย่างถูกต้องและเหมาะสม รวมทั้งไม่ได้นำมาใช้จริงๆ จึงทำให้งานขององค์กรเป็น Silo ไม่ได้มีการร่วมมือกันภายในองค์กร

3. Performance ผลลัพธ์ที่ได้จากความสามารถขององค์กรเป็นไปแบบคนละทิศ คนละทาง ไม่สามารถวัดผลและประเมินผลใดใดได้

Strategic Management จะสามารถดำเนินการได้ในระยะใดบ้างสำหรับองค์กร?

ทั้งนี้เมื่อได้แนวท่างในการขับเคลื่อนองค์กร ก็จะกลับมามองที่ภายในองค์กร ว่าองค์กรอยู่ในระยะใดของการขับเคลื่อนที่จะต้องมีการบริหารจัดการองค์กรเชิงกลยุทธ์จะมีด้วยกัน 3 ระยะ คือ

1.ระยะพัฒนา (Development Stage) > อาจเริ่มที่ฝ่ายงานใดฝ่ายงานหนึ่งก่อน หรือ ทั้งองค์กร

2.ระยะเปลี่ยนผ่าน (Transition Stage) > อาจเริ่มที่ฝ่ายงานใดฝ่ายงานหนึ่งก่อน หรือ ทั้งองค์กร

3.ระยะเปลี่ยนแปลงสภาพ (Transformation Stage) > อาจเริ่มที่ฝ่ายงานใดฝ่ายงานหนึ่งก่อน หรือ ทั้งองค์กร

ซึ่งการบริหารจัดการองค์กร ต้องวางแนวคิด แนวทางอย่างถูกต้องและเหมาะสมกับโจทย์หลักขององค์กรในแต่ละสถานการณ์จริงๆ จึงจะเกิดประโยชน์และประสิทธิภาพสูงสุด

Strategic Management เกี่ยวข้องกับใครบ้าง?

ต้นน้ำจะมีตำแหน่งผู้บริหารระดับสูงสุด (Top Management)

เป็นผู้ดูแลรับผิดชอบ

กลางน้ำจะมีตำแหน่งผู้บริหารระดับกลาง (Middle Management)

เป็นผู้ดูแลรับผิดชอบ

ปลายน้ำจะมีตำแหน่งผู้บริหารระดับต้น (Front-Line Management)

เป็นผู้ดูแลรับผิดชอบ

iStrategy ช่วยองค์กรคุณอย่างไรในเรื่อง Strategic Management ขององค์กร

เราทำหน้าที่ช่วยพัฒนาสรรถนะในการทำงาน (Competency Development)​ของตำแหน่งต่างๆในองค์กร แต่ละกลุ่มธุรกิจ (Sector) ที่มุ่งเน้นในเรื่อง Strategic Management เป็นสำคัญ โดยแบ่งได้ 3 ระดับตำแหน่ง

1.Top Management 

1.1.Core Competency

1.2.Managerial Competency

1.3.Functional Competency

2.Middle Management 

2.1.Core Competency

2.2.Managerial Competency

2.3.Functional Competency

3.Front-Line Management 

3.1.Core Competency

3.2.Managerial Competency

3.3.Functional Competency)