
เหตุเพราะการขับเคลื่อนองค์กรทั้งปัจจุบันและในอนาคต การบริหารโครงการจะเป็นงานส่วนสำคัญที่จะช่วยให้องค์กรมีศักยภาพเพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดดในมิติต่างๆ อันเนื่องมาจากปัจจัยมากมายทั้งภายใน ภายนอกขององค์กร และการที่โครงการจะมีประสิทธิภาพสูงเช่นนั้นได้ก็ด้วยศักยภาพของผู้บริหารโครงการเป็นสำคัญ
Project Management Course – หลักสูตรการบริหารโครงการ คืออะไร? มีประโยชน์อย่างไร?
Project Management Course : หลักสูตรการบริหารจัดการโครงการ คือหลักสูตรที่ให้แนวคิดในการบริหารโครงการ กระบวนการ ขั้นตอน ความสำคัญในการบริหารจัดการ รวมทั้งการปรับประยุกต์สิ่งต่างๆ เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ตามที่วางไว้ในโครงการ

เพราะองค์กรไม่ว่าจะเป็นภาครัฐหรือภาคเอกชน เมื่อมีช่วงเวลาที่องค์กรต้องการขับเคลื่อนไปในเป้าหมายที่ต้องการตามที่ผู้บริหารได้วางไว้ องค์กรจำเป็นจะต้องมีระบบ สร้างกระบวนการทำงานเพื่อทำการชับเคลื่อนองค์กร ซึ่งจะมีโครงการที่ดีต่างๆ มากมาย หลากหลายที่จะมีส่วนในการขับเคลื่อนโดยโครงการจะถูกพิจารณา คัดเลือกจากผู้บริหารตลอดจนผู้มีส่วนได้เสียภายในองค์กร
“ซึ่งที่มาของโครงการนั้น ถือว่ามีความสำคัญอย่างยิ่ง”

เพราะหากโครงการได้ถูกคิด วางแผน พิจารณาจากความลึกซึ้งของข้อมูลที่เกี่ยวข้องทั้งหมดกับองค์กรแล้ว โครงการนั้นจะถือเป็นโครงการที่มีคุณค่าอย่างยิ่งสำหรับองค์กร ประเด็นนี้จึงถือเป็นประเด็นหลักสำหรับการคิด พิจารณา โครงการต่างๆในการขับเคลื่อน เนื่องจากโครงการแต่ละโครงการจะประกอบด้วยเทคนิคต่างๆ มากมายตามลักษณะของธุรกิจแต่ละประเภทเพื่อนำไปสู่การบริหารและกระบวนการอื่นๆเพื่อให้ผลลัพธ์เป็นไปตามเป้าหมายที่องค์กรตั้งไว้และอีกประเด็นที่มีความสำคัญ เป็นประโยชน์ควบคู่กัน แต่อาจจะถูกมองข้ามได้ คือ
“Prioritize Project การจัดลำดับความสำคัญของโครงการ”
เพราะเมื่อองค์กรมีเป้าหมายที่ยิ่งใหญ่ย่อมทำให้รายละเอียดการทำงานมีความซับซ้อน หลากหลาย ระยะเวลาการดำเนินงานที่กระชั้นชิดอย่างมากในปัจจุบัน ทรัพยากรบางอย่างถูกจำกัด ย่อมส่งผลกับโครงการต่างๆที่มีทั้งหมดว่าโครงการใดควรจัดลำดับในแต่ละช่วงเวลาเป็นเช่นใด เพื่อให้ถูกต้อง เหมาะสมและมีประสิทธิภาพสูงที่สุดกับองค์กร
ที่มาของหลักสูตรและสร้างประโยชน์ในมิติต่างๆ อิงปัจจัย ดังต่อไปนี้
Competency – สมรรถนะหลักของตำแหน่ง
โดยเฉพาะในส่วนงานด้านการตลาดที่จะเป็นสมรรถนะหลักอยู่แล้ว เพื่อการพัฒนาความรู้ ความสามารถในการสร้างกลยุทธ์การตลาดและการวางแผนทางการตลาด ที่นำไปสู่การบริหารจัดการต้นทุนที่ดี ชนะคู่แข่งและสร้างคุณค่าให้กับลูกค้าและสังคม
Problematic – ปัญหาที่ได้เกิดขึ้น
เมื่อสินค้าและบริการขององค์กรไม่พัฒนาและเติบโตอย่างที่องค์กรต้องการ ย่อมทำให้สภาพการแข่งขันต่างๆด้อยประสิทธิภาพลง จึงถือเป็นประเด็นใหญ่ที่องค์กรจะต้องเร่งปรับ แก้ไข
Mega Trend and Impact – เทรนด์ใหม่ๆและผลกระทบที่จะเกิดขึ้น
ด้วยปัจจัยและสถานการณ์ต่างๆที่รวดเร็วและมหาศาลทั้งภายนอกและภายในขององค์กร ย่อมส่งผลกระทบทั้งหมดทั้งในแง่ดีและแง่ไม่ดี กลยุทธ์การตลาดและการวางแผนทางการตลาดขององค์กรจึงต้องมีการติดตามและพัฒนาอยู่อย่างต่อเนื่อง

Project Management – มีขั้นตอนหลักในเบื้องต้นอย่างไร?
- การริเริ่มโครงการ (Initiating Process)
คือการคิด ริเริ่มหลักการเหตุผลต่างๆที่จะเกิดขึ้นของโครงการดังกล่าวนี้ เพื่อพิจารณาประโยชน์ในมิติต่างๆ เพื่อให้โครงการที่ได้มานี้ ถูกต้อง เหมาะสมและมีคุณภาพสูงสุดสำหรับองค์กร
- การวางแผนโครงการ (Planning Process )
วางแผน กำหนดองค์ประกอบทั้งหมดของงาน ของทรัพยากรที่ต้องบริหารจัดการในลักษณะและรูปแบบต่างๆ เพื่อให้ผู้วางแผนโครงการสามารถบริหารจัดการทรัพยากรในโครงการด้วยความรู้ความเข้าใจอย่างแท้จริง อาทิ เช่น (ประเภทต่างๆ) คน / ข้อมูล / เครื่องมือ หรือ (ลักษณะต่างๆ) ปริมาณ / ต้นทุน / คุณภาพ / เวลา เป็นต้น
- การดำเนินการโครงการ (Executing Process)
เป็นการดำเนินการตามระบบงานที่ได้วิเคราะห์และวางแผนไว้อย่างดีแล้ว - การตรวจสอบและควบคุม (Monitoring and Controlling Process)
เป็นขั้นตอนที่ทำควบคู่ไปกับการดำเนินงานตามโครงการ ทั้งนี้ เพื่อให้แต่ละขั้นตอนมีความถูกต้อง เหมาะสม หากมีสิ่งใดในขั้นตอนต้องมีการปรับแก้ ย่อมสามารถทำได้อย่างยืดหยุ่นและมีประสิทธิภาพ
- การยุติโครงการ (Closing Process)
เป็นขั้นตอนการสรุปงานในโครงการ เพื่อเก็บรายละเอียดทั้งหมดที่สำคัญ อาทิเช่น ผลการดำเนินงานในมิติต่างๆเพื่อให้ผู้บริหารระดับสูงภายในองค์กรได้รับทราบ และอาจจะมีข้อมูลสำคัญในบางส่วนที่สามารถนำไปใช้ในโครงการที่จะเกิดขึ้นในอนาคตต่อไปได้

Project Management Coures – หลักสูตรการบริหารโครงการเหมาะสมกับใคร?

เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องบริหารจัดการโครงการ ตลอดจนผู้ที่มีส่วนในการจัดทำโครงการในระดับต่างๆ โดยเนื้อหาหลักสูตรจะเข้มข้นต่างกัน โดยจะมีทักษะสำคัญ อาทิ เช่น ด้านการคิด วิเคราะห์ปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ความรู้ด้านกลยุทธ์ การเจราจาต่อรองกับผู้ที่เกี่ยวข้องในโครงการ ตลอดจนทักษะด้านการนำเสนอกับผู้บริหารและส่วนงานอื่นๆ เป็นต้น
จากข้อมูลดังกล่าวในเบื้องต้น จะเห็นได้ว่า ปัจจัยหลักในมิติต่างๆ ที่จะทำให้เกิดการบริหารโครงการที่มีประสิทธิภาพสูง ถูกต้องและเหมาะสมกับองค์กรนั้น มีรายละเอียดในหลายๆส่วนที่ต้องให้ความสำคัญ มิฉะนั้นองค์กรอาจจะต้องสิ้นเปลืองเวลา และทรัพยากรต่างๆไปกับโครงการที่มีประสิทธิภาพไม่เพียงพอที่จะก่อให้เกิดประโยชน์สำหรับองค์กร
จากข้อมูลดังกล่าวในเบื้องต้น จะเห็นได้ว่า ปัจจัยหลักในมิติต่างๆ ที่จะทำให้เกิดการบริหารโครงการที่มีประสิทธิภาพสูง ถูกต้องและเหมาะสมกับองค์กรนั้น มีรายละเอียดในหลายๆส่วนที่ต้องให้ความสำคัญ มิฉะนั้นองค์กรอาจจะต้องสิ้นเปลืองเวลา และทรัพยากรต่างๆไปกับโครงการที่มีประสิทธิภาพไม่เพียงพอที่จะก่อให้เกิดประโยชน์สำหรับองค์กร
วิทยากรผู้เชี่ยวชาญด้าน Project Management
iPlus Center ขอแนะนำ
"ภาพบรรยากาศการอบรมในหลักสูตร Project Management โดย iPlus"


















ถาม-ตอบเกี่ยวกับ Project Management Course : หลักสูตรการบริหารโครงการ

A.1
ประโยชน์ต่อฝ่ายบุคคล จะทำให้ฝ่ายบุคคลได้พัฒนาบุคลากรในแง่ของการคิด การวางแผน และการบริหารโครงการต่างๆที่มีความสำคัญมากน้อยตามแต่ระดับภายในองค์กร เพื่อนำไปสู่การขับเคลื่อนองค์กรด้วยโครงการที่มีประโยชน์ในมิตคิต่างๆและมีประสิทธิภาพอย่างสูงสุด
ประโยชน์ต่อผู้จัดการโครงการ (Profect Manager) ทำให้เป็นผู้จัดการโครงการที่มีระบบในการคิด วางแผน และดำเนินการโครงการอย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ลดความเสี่ยงที่โครงการล้มเหลว
ประโยชน์ต่อผู้บริหาร จะทำให้บุคลากรที่ได้รับการอบรมหลักสูตรดังกล่าว ได้รับความรู้ ความเข้าใจอย่างถูกต้อง เหมาะสม เพื่อนำมาดำเนินงานในโครงการต่างๆที่ผู้บริหารมีนโยบาย หรือต้องการเน้นย้ำเพื่อการขับเคลื่อนองค์กรเป็นหลัก
ประโยชน์ต่อองค์กรในภาพรวม ด้วยสถานการณ์ปัจจุบันนั้น การดำเนินงานด้วยการบริหารโครงการขององค์กรทั้งภาครัฐและเอกชนมีรายละเอียดต่างๆที่ซับซ้อนในลำดับขั้น และหลากหลายในวิธีการ ความรู้ที่ได้การอบรมหลักสูตรดังกล่าวจึงมีความสำคัญต่อองค์กรเป็นอย่างมาก
A.2
การบริหารโครงการขององค์กรต่างๆนั้น สามารถที่ขับเคลื่อนไปได้ก็ด้วยความรู้ ความสามารถของผู้ปฏิบัติงานภายในองค์กรได้ในระดับหนึ่งอยู่แล้ว
“แต่หากผู้ปฏิบัติงานได้รับข้อมูล ความรู้ที่ถูกต้อง เหมาะสมและเป็นระบบที่มีประสิทธิภาพสูง”
ย่อมจะยิ่งทำให้การบริหารโครงการนั้นมีประสิทธิภาพในมิติต่างๆมากยิ่งขึ้น จนองค์กรสามารถที่จะเห็นผลลัพธ์ที่แตกต่างได้
A.3
ในการ “ตรวจติดตาม”โครงการในแต่ละระยะ ถือเป็นข้อควรระวังที่สำคัญมากทีเดียว เนื่องจากหลายๆครั้งโครงการถูกคิดวิเคราะห์และวางแผนมาเป็นอย่างดี
“แต่ความต่อเนื่องในการตรวจติดตามจนกระทั่งโครงการจะประสบความสำเร็จนั้น”
ถือเป็นส่วนที่ต้องทุ่มเทและมีวินัยในขั้นตอนดังกล่าวค่อนข้างสูงมาก
A.4
คือปัจจัยด้านความแม่นยำในการตัวชี้วัดในด้านต่างๆของการบริหารโครงการ เพราะจะมีส่วนทำให้โครงการประสบความสำเร็จสูงสุดภายใต้ทรัพยากรที่ถูกบริหารจัดการอย่างถูกต้องและเหมาะสมที่สุด