หลักสูตรอบรมด้านการคิดและวางแผนกลยุทธ์สู่การปฏิบัติ Strategic Thinking and Planning to Execution (Strategy)
“กลยุทธ์ขององค์กรที่ตกผลึกอย่างแท้จริง จะทำให้องค์กรถูกขับเคลื่อนอย่างมีทิศทางที่ถูกต้อง
เหมาะสมและสอดคล้องกับสถานการณ์”
หลายครั้ง หลายสถานการณ์ ที่องค์กรต่างๆ ยังขาดกลยุทธ์ที่จะนำมาใช้ขับเคลื่อนองค์กร เพื่อให้แต่ละระดับ แต่ละแผนกในองค์กรสามารถไปในจุดมุ่งหมายเดียวกัน ด้วยกระบวนการที่มีประสิทธิภาพเพียงพอ กล่าวคือ
- Destination คือ จุดหมายหรือเป้าหมายที่ถูกต้องและเหมาะสมที่สุดแล้วสำหรับองค์กร โดยผ่านทางวิสัยทัศน์ มุมมองของผู้บริหารขององค์กรหรือหลักการถูกต้องจากข้อมูลที่ตกผลึกแล้ว
- Direction คือ กระบวนการที่ถูกถ่ายทอดออกมาอย่างเป็นระบบ มีความชาญฉลาด เป็นขั้นเป็นตอนเพื่อการนำไปประยุกต์ใช้เพื่อให้เกิดจุดหมาย หรือเป้าหมายที่องค์กรได้วางไว้ และอาจจะสามารถต่อยอดในด้านคุณค่าอย่างไม่มีที่สิ้นสุด ซึ่งสุดท้ายแล้วทั้ง Destination และ Direction ต้องไปในทิศทางเดียวกัน และรวมเป็นภาพเดียวกัน
Strategy Course – หลักสูตรอบรมด้านการคิดและวางแผนกลยุทธ์สู่การปฏิบัติ Strategic Thinking and Planning to Execution (Strategy) – คืออะไร? มีประโยชน์อย่างไร?
Strategy Course: หลักสูตรด้านกลยุทธ์ คือ หลักสูตรที่จะมุ่งเน้นความเข้าใจ ความสำคัญของกลยุทธ์เพื่อนำแนวคิด ความรู้ และประสบการณ์ที่ได้เพื่อวางกลยุทธ์ในธุรกิจนั้นๆ ซึ่งวิเคราะห์จากสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจ สังคม และผลกระทบต่อธุรกิจ โดยเฉพาะสถานการณ์ สภาพแวดล้อม ความคิด พฤติกรรม จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส อุปสรรค สภาพตลาด การแข่งขัน รวมทั้งคู่แข่ง เพื่อนำไปสู่การวางแผนกลยุทธ์ขององค์กรที่ตอบสนองความต้องการของผู้มีส่วนได้เสีย และผู้มีส่วนร่วมทุกฝ่าย
ความหมายของคำว่า กลยุทธ์ (Strategy) นั้น มีหลากหลายอยู่มากพอสมควร แม้ในการบริหารระดับโลก ก็ยังไม่อาจสรุปได้เพียงความหมายใด ความหมายหนึ่ง ซึ่งทำให้ความหมายและความลึกซึ้งของความหมายนั้น อาจจะขึ้นอยู่กับมุมมอง ความเข้าใจของแต่บุคคล แต่ละองค์กรเป็นสำคัญ
“แต่ความหมายโดยรวมแล้ว กลยุทธ์จะมุ่งเน้นสร้างความแตกต่าง สร้างจุดขาย จุดได้เปรียบ จนนำไปสู่การชนะคู่แข่งในธุรกิจนั้น เมื่อมีกระบวนการทางความคิดที่ดี มีประสิทธิภาพสูงแล้ว ย่อมสามารถจะคิดได้อีก เพื่อปรับเปลี่ยนไปในแต่ละสถานการณ์ รวมทั้งสะท้อนคุณประโยชน์ในมิติต่างๆ ทั้งกับองค์กร ผู้คน สภาพแวดล้อม
และในองค์กรระดับโลก เป้าหมายอาจจะไปถึงการช่วยโลกของเราใบนี้ เพื่อนำไปสู่ความยั่งยืนที่สามารถมองเห็นภาพ จับต้องได้ เกิดผลลัพธ์ที่แท้จริง”
Strategy Course – หลักสูตรอบรมด้านการคิดและวางแผนกลยุทธ์สู่การปฏิบัติ Strategic Thinking and Planning to Execution (Strategy) แบ่งได้กี่ระดับ?
กลยุทธ์แบ่งออกมาได้เป็น 3 ระดับ ได้แก่
กลยุทธ์ระดับองค์กร (Corporate Strategy) เป็นการวางแผนและกำหนดทิศทางขององค์กรโดยรวม หรือ กลุ่มบริษัทเป็นสำคัญ โดยมุ่งเน้นไปที่การกำหนดเป้าหมายระยะกลางและระยะยาว โครงสร้างองค์กร และกลยุทธ์การแข่งขันในระดับองค์กร
กลยุทธ์ระดับธุรกิจ (Business Strategy) เป็นการวางแผนและกำหนดทิศทางของธุรกิจแต่ละบริษัท แต่ละหน่วยงานขององค์กร โดยมุ่งเน้นไปที่การกำหนดเป้าหมายระยะกลางและระยะยาว กลยุทธ์การแข่งขัน และกลยุทธ์การดำเนินงานในระดับธุรกิจ โดยเน้นที่เอกลักษณ์ความโดดเด่นของธุรกิจ
กลยุทธ์ระดับปฏิบัติการ (Operational Strategy) เป็นการวางแผนและกำหนดทิศทางของแต่ละส่วนงานขององค์กร โดยมุ่งเน้นไปที่การกำหนดเป้าหมายระยะสั้นและระยะกลาง กลยุทธ์การปฏิบัติงานร่วมกันหรือเฉพาะส่วนงาน การดำเนินงาน และกลยุทธ์ระดับปฏิบัติงาน โดยเน้นที่ประสิทธิภาพและมาตรฐานการปฏิบัติงาน
“กลยุทธ์ควรเป็นกระบวนการทางความคิดโดยไม่ยึดติดระบบใดๆ วิเคราะห์อย่างสร้างสรรค์ เป็นอิสระ จนตกผลึกอย่างแท้จริง
และจะถูกถ่ายทอดออกมาอย่างมีทิศทางที่ชัดเจนและเป็นระบบที่ถูกต้อง เหมาะสม”
เครื่องมือต่างๆในการคิดและวางแผนกลยุทธ์สู่การปฏิบัติ – Strategy Tools
- โดยเครื่องมือในการช่วยคิด วิเคราะห์กลยุทธ์ จะมีเครื่องมือต่างๆ ที่คุ้นเคย อาจจะนำมาช่วยในกระบวนการคิด มากน้อย ตามแต่การเห็นสมควร อาทิ เช่น SWOT Analysis , BCG Matrix , TOWS Matrix ,Five Force Analysis เป็นต้นหรือเครื่องมืออื่นๆ ที่เกี่ยวข้องก็ได้ ซึ่งสามารถนำมาผสมผสานได้ทั้งหมด โดยขึ้นอยู่กับโจทย์หรือสิ่งที่องค์กรต้องการบรรลุเป้าหมายเป็นสำคัญ
- กลยุทธ์มีประโยชน์อย่างมากสำหรับองค์กรในปัจจุบัน กลยุทธ์ถือเป็นหลักการสำคัญขององค์กร เป็นสิ่งที่ช่วยให้การขับเคลื่อนองค์กรทั้งในระดับใหญ่ ไปจนถึงการทำงานในระดับเล็กๆ มีความหมายมากยิ่งขึ้น
- ทั้งในเรื่องต้นทุน คุณภาพ และเวลา ซึ่งเป็นปัจจัยหลักๆ ขององค์กรและโดยเฉพาะในสถานการณ์ของการแข่งขันของธุรกิจในปัจจุบัน สถานการณ์จากพฤติกรรมของผู้บริโภคในธุรกิจต่างๆ จากทั้งในประเทศและต่างประเทศ จนทำให้ประเทศไทยเอง ต้องกำหนดนโยบายของประเทศยุคใหม่ ในนิยาม “Thailand 4.0” ซึ่งจะมีผลโดยตรงกับองค์กรทั้งภาครัฐและภาคเอกชน ไปจนถึงสถานการณ์ระดับโลก ที่มีความเคลื่อนไหวที่เข้มข้นกว่า จนเป็นปรากฏการณ์ Disruption อย่างมากมาย
โดยธุรกิจจำเป็นต้องมุ่งมั่นในส่วนสำคัญเพื่อให้อยู่รอด คือ
1. Cost ต้นทุนของสินค้า บริการต่างๆ ของผู้ผลิตหรือผู้ให้บริการ เพราะหากต้นทุนสูงเกินไป ย่อมส่งผลต่อราคาจำหน่ายของสินค้าหรือบริการ แต่หากต้นทุนต่ำเกินไปจะส่งผลกับคุณภาพของสินค้าหรือบริการ ดังนั้นต้นทุนจึงต้องมีจุดที่ถูกต้องและเหมาะสม
2. Competitive Advantage ความได้เปรียบด้านการแข่งขัน หากการแข่งขันใดใดแล้ว องค์กรนั้นไม่สามารถได้เปรียบในจุดสำคัญๆ ของการแข่งขัน ย่อมทำให้โอกาสอยู่รอดขององค์กรเป็นไปได้ยากเสมอ
กลยุทธ์จึงเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้เลยในปัจจุบัน และยิ่งทวีความเข้มข้นในแต่ละช่วงไตรมาศ แต่ละช่วงปี เพราะการเปลี่ยนแปลงในปัจจุบันเกิดได้จากทุกทุกส่วนในระบบ ระบบการทำงานที่ซับซ้อนมากขึ้น การแข่งขันที่เปิดกว้างมากขึ้น รูปแบบที่ไม่คงที่ รวมถึงเทคโนโลยีระดับสูงที่เข้ามาเป็นตัวแปรสำคัญ
หลักสูตรอบรมด้านการคิดและวางแผนกลยุทธ์สู่การปฏิบัติ Strategic Thinking and Planning to Execution (Strategy) – มีขั้นตอนหลักในเบื้องต้นอย่างไร?
กระบวนการของการจัดทำกลยุทธ์ขององค์กรจะเริ่มตั้งแต่กระบวนการเก็บข้อมูลต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับองค์กร อาทิ เช่น
- เศรษฐกิจมหภาค (Macroeconomics)
- Trend และ Dynamics ของธุรกิจ
- Demand และ Supply Condition ในองค์กร
- การปฏิบัติการของ องค์กร
- Stakeholders Survey ขององค์กร
ผ่านกระบวนการคิด วิเคราะห์ในข้อมูลต่างๆ อาทิ เช่น
- การมองแบบ Outside in และ Inside out
- การใช้ข้อมูลในแบบ Data Intelligence
- การค้นหา Unique Value
- การแยกความแตกต่างระหว่าง Strategic Thinking และ Routine
รวมทั้งมีการใช้เครื่องมือต่างๆ ที่เกี่ยวข้องมากมาย ตามแต่ความเหมาะสมของแต่ละองค์กร
โดยภาพรวมของวางแผนกลยุทธ์ในองค์กร
สามารถถูกแบ่งได้เป็น 3 ช่วง คือ
1.Visioning หรือในภาษาง่ายๆ อาจจะใช้คำว่า Think ซึ่งก็คือการคิดเพราะกระบวนการต่างจะเกิดขึ้นได้ ก็ด้วยการคิด
2.Planning หรือในภาษาง่ายๆ อาจจะใช้คำว่า Plan ซึ่งก็คือการวางแผนเพราะผลลัพธ์ที่ยอดเยี่ยมนั้น จะต้องมีการวางแผนอย่างถูกต้องและเหมาะสม
3.Execution หรือในภาษาง่ายๆ อาจจะใช้คำว่า Act ซึ่งก็คือการลงมือทำการดำเนินการ จุดนี้ถือเป็นปัจจัยที่ต้องยืดหยุ่นสูง เนื่องจากจะเป็นกระบวนการที่จะต้องเผชิญกับสถานการณ์ที่แท้จริงแต่หากว่ากระบวนการคิดได้ทำมาอย่างลึกซึ้งแล้ว กระบวนการนี้ก็จะสัมฤทธ์ตามที่คาดหมายไว้ หรืออาจจะดียิ่งกว่า ก็เป็นได้
ในปัจจุบันนั้น สามารถทำได้โดยที่กลยุทธ์ขององค์กรถูกคิดจากฝ่ายบริหารแล้วลงไปสู่ระดับปฏิบัติการ (หรือที่เรียกว่า Top-Down) แล้วจึงลดหลั่นลงไปตามลำดับขั้นปฏิบัติการ โดยฝ่ายบริหารจะทำหน้าที่คิดกลยุทธ์ด้วยวิสัยทัศน์ และข้อมูลในมิติที่หลากหลาย เพื่อให้ได้สิ่งที่ยอดเยี่ยมที่สุดสำหรับองค์กร ฝ่ายผู้บริหารระดับกลางจะทำหน้าที่คิดกลยุทธ์ให้เป็นระบบงานมากที่สุด เพื่อถ่ายถอดไปสู่ฝ่ายปฏิบัติการ และฝ่ายปฏิบัติการจะทำหน้าที่ปฏิบัติตามแผนกลยุทธ์ที่ได้ แล้วจึงนำผลลัพธ์ที่ได้มานั้น นำเสนอต่อผู้บริหารระดับสูงเพื่อพิจารณาต่อไป (หรือที่เรียกว่า Bottom Up)
หลักสูตรอบรมด้านการคิดและวางแผนกลยุทธ์สู่การปฏิบัติ Strategic Thinking and Planning to Execution (Strategy) – หมาะสมกับใคร?
1.Top Management or Corporate Executive หรือฝ่ายบริหารระดับสูง เพราะผู้บริหารจะทำหน้าที่คิด พิจารณาตามวิสัยทัศน์และวางแนวทางของการดำเนินการในภาพรวมขององค์กร
2.Middle Management or Business Unit Manager หรือฝ่ายบริหารระดับกลาง หรือระดับผู้จัดการ เพราะจะทำหน้าที่คิดค้น สร้างสรรค์กลยุทธ์และอาจจะครอบคลุมในส่วนการดูแลระบบการทำงานหรือการดำเนินการต่างๆตามกลยุทธ์
3.Front-Line Management or Assistant Manager / Supervisor หรือ ผู้บริหารระดับต้น หรือ ฝ่ายปฏิบัติการ เพราะจะทำหน้าที่ดำเนินการตามกลยุทธ์เพื่อให้ผลลัพธ์ที่ได้นั้น ถูกต้อง เหมาะสม และมีประสิทธิภาพสูงสุดกับองค์กร
จากกลยุทธ์สู่การจัดการเชิงกลยุทธ์ Strategy to Strategic Management
“การจัดการเชิงกลยุทธ์ขององค์กร เป็นการกำหนดเป้าหมาย วิธีการดำเนินการ มีการติดตามผล วัดผลและประเมินผลได้อย่างเป็นระบบ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายขององค์กร
Strategic Management มีขั้นตอนสำคัญอย่างไรบ้าง?
1. Strategic Map & Formulation
เป็นการวางตำแหน่งในแผนที่ทางธุรกิจเชิงยุทธศาสตร์ขององค์กรและการกำหนดแผนการดำเนินงานตามแผนที่นั้น ว่าจุดใด ตำแหน่งใดที่องค์กรควรจะให้ความสำคัญเพื่อธุรกิจมีศักยภาพเติบโตสูงสุดและยั่งยืน โดยเฉพาะเพื่อให้ทราบถึงการจัดสรรทรัพยากรในมิติต่างๆอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด เพื่อให้องค์กรบรรลุเป้าหมาย
2. Strategic Implement
เป็นการดำเนินงานเชิงกลยุทธ์ที่มาจากแผนกลยุทธ์แล้วนำไปสู่การปฏิบัติ การขับเคลื่อนองค์กรที่จับต้องได้
โดยมี 2 ส่วนสำคัญๆ คือ
-Proaction มีการกำหนดวิธีการดำเนินงานขององค์กรไว้ทั้งประเภทและระดับของระบบงานทั้งหมด
-Protection มีการป้องกันปัญหาจากการดำเนินงานนั้นด้วย ทั้งประเภทและระดับของระบบงาน อย่างเป็นมืออาชีพ
3. Strategic Monitoring
เป็นการติดตามของการดำเนินงานทั้งก่อน ระหว่างและหลังการดำเนินงานเพื่อให้ตรงตามแนวทางดำเนินงานที่วางไว้และเป็นไปตามแผนป้องกันปัญหาใดใดที่อาจจะเกิดขึ้น รวมทั้งเป็นการทบทวนการดำเนินงานในแต่ละระยะ เพราะในท้ายที่สุดแล้วหากเกิดเหตุวิสัยจริงๆ องค์กรก็จะสามารถแก้ปัญหานั้นได้ทันท่วงที
4. Strategic Measurement
เป็นกระบวนการกำหนดการวัดผลและประเมินผลความก้าวหน้าและผลลัพธ์ของการดำเนินงานตามการจัดการเชิงกลยุทธ์ ซึ่งการวัดผลและประเมินผลมีได้หลากหลายรูปแบบใน Performance Management System ทั้งนี้การวัดผลและประเมินผลจะทำให้องค์กรทราบได้ว่าการดำเนินงานเชิงกลยุทธ์นั้นได้มาในทิศทางที่ถูกต้องหรือไม่ ประสิทธิภาพเป็นเช่นไร มาตรฐานที่แท้จริงของงองค์กรเป็นไปตามที่ต้องการหรือไม่นั่นเอง
วิทยากรผู้เชี่ยวชาญด้านการคิดและวางแผนกลยุทธ์ (Strategy)
iPlus Center ขอแนะนำ