หลักสูตรอบรมด้านการแก้ปัญหา และการตัดสินใจ (Problem Solving and Decision Making)
“การแก้ปัญหา และการตัดสินใจ เป็นเรื่องที่ใกล้ตัว ละเอียดอ่อน และสามารถเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา แต่การจะเข้าใจหลักการ และขั้นตอนในการแก้ไขปัญหา เป็นสิ่งที่ต้องทำความเข้าใจเป็นอย่างยิ่ง หลายๆ ครั้งที่องค์กรต้องแก้ปัญหาเดิมๆ ไม่รู้จบ เพราะด้วยจำนวนคนในองค์กรที่มากมายและหลากหลาย ย่อมทำให้ปัญหามีความซับซ้อนมากยิ่งขึ้น จนทำให้ปัญหาเดิมนั้นกลายเป็นปัญหาใหม่ที่ขยายใหญ่กว่าเดิม”
ดังนั้น หลักสูตรอบรมด้านการแก้ปัญหา และการตัดสินใจ (Problem Solving and Decision Making) คือหลักสูตรที่สร้างความเข้าใจในกระบวนการแก้ปัญหา และการตัดสินใจ ที่มุ่งเน้นไปที่รากฐานทางความคิด โดยมีขั้นตอนที่เหมาะสม และเชื่อมโยงกับทักษะการคิดวิเคราะห์อย่างเป็นระบบ ซึ่งจะนำไปสู่ทางออกในการแก้ไขปัญหา หรือสถานการณ์ต่างๆ ที่ต้องประสบพบเจอในปัจจุบัน ทั้งจากเรื่อง “งาน” และเรื่อง “คน” จึงทำให้กระบวนการแก้ปัญหา และการตัดสินใจมีความซับซ้อนและยุ่งยากมากยิ่งขึ้น
“งาน” ที่ปรับเปลี่ยนเร็วและหลากหลาย รวมทั้งความรู้ ความสามารถในงานที่ต่างกันออกไปในองค์กร ย่อมทำให้การมองเนื้องานมีความต่างกัน
“คน” ที่มีความคิดและพฤติกรรมที่ซับซ้อนและหลากหลายมากขึ้น ด้วยความรู้ ความเข้าใจในการใช้ชีวิตที่ต่างกัน ก็สามารถทำให้เกิดช่องว่างของความรู้ ความเข้าใจได้
“ปัญหาทุกปัญหาอาจไม่ถูกแก้ไขได้ทั้งหมด แต่ความเข้าใจจริงๆ ในมิติต่างๆ ของปัญหาทุกปัญหาคือสิ่งที่ต้องทำให้เกิดขึ้นให้ได้”
หลักสูตรอบรมด้านการแก้ปัญหา และการตัดสินใจ (Problem Solving and Decision Making) เหมาะสำหรับใคร ?
บุคลากรทุกตำแหน่ง ทุกระดับในองค์กร ตั้งแต่ระดับปฏิบัติการ ไปจนถึงผู้บริหารระดับสูง ที่ต้องการเพิ่มความรู้ และทักษะด้านการแก้ปัญหา และการตัดสินใจ ที่เกี่ยวข้องกับ “งาน” ที่ได้รับมอบหมาย หรือความรับผิดชอบในการบริหาร “คน” ที่หลากหลาย และแตกต่างกัน เพื่อให้ระบบการทำงานราบรื่น และสามารถเชื่อมโยงกับหน่วยงานอื่นๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
“ไม่ว่าจะเป็นปัญหาเรื่อง งาน หรือ ปัญหาเรื่อง คนทุกปัญหาย่อมต้องการการแก้ไขปัญหาที่ถูกต้องและยั่งยืน”
หลักสูตรนี้จะมีที่มาและสร้างประโยชน์ในมิติต่างๆ ดังต่อไปนี้
Competency – สมรรถนะหลักของตำแหน่ง
ตามที่องค์กรกำหนดว่าตำแหน่งนั้นๆ จะต้องมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับ การแก้ปัญหาและตัดสินใจ เพื่อรับผิดชอบในแต่ละตำแหน่งภายในองค์กรที่ต้องรับมือ ป้องกันกับทั้งปัญหาเก่าและใหม่ อยู่ตลอดเวลา
Problematic – ปัญหาที่ได้เกิดขึ้น
เมื่อองค์กรมีการดำเนินงานทางธุรกิจหรือภารกิจ ย่อมเป็นไปไม่ได้เลยที่จะไม่เกิดปัญหาตามมา หากบุคลากรที่รับผิดชอบเข้าใจและสามารถบริหารจัดการปัญหาได้ ย่อมทำให้ปัญหาไม่ขยายวงกว้าง
Mega Trend and Impact – เทรนด์ใหม่ๆ และผลกระทบที่จะเกิดขึ้น
ตามสถานการณ์ในปัจจุบัน มีปัจจัยมากมายที่จะเข้ามามีผลกระทบ ซึ่งหลายครั้งเกินกว่าการจะคาดการณ์ได้ การเตรียมพร้อมทั้งความรู้ การพัฒนาขีดความสามารถในการแก้ปัญหาจึงเป็นสิ่งสำคัญ
Problem Solving and Decision Making – มีขั้นตอนหลักในเบื้องต้นอย่างไร?
- การวิเคราะห์ปัญหา หรือ ทำเข้าใจในการวิเคราะห์ปัญหา
เป็นการคิด วิเคราะห์เกี่ยวกับปัญหาที่เกิดขึ้น อาจจะมีเครื่องมือต่างๆ เข้ามาช่วยกำหนดแนวทางจัดการปัญหาที่เกี่ยวข้องอย่างถูกต้อง หรือ การกล่าวถึง Mindset ของการคิด การวิเคราะห์เกี่ยวกับปัญหาหรือประเด็นที่อาจะมองข้ามไปเกี่ยวกับปัญหา
- การประเมินและการสื่อสาร
ประเมินปัจจัยต่างๆ ที่มีผลกระทบและทำขั้นตอนเกี่ยวกับการแก้ไขปัญหา
- การหาสาเหตุที่แท้จริงของปัญหา หรือ การพยายามเข้าถึง สาเหตุ อาการ ปัจจัยต่างๆที่เกิดปัญหา
การเก็บข้อมูล การวิเคราะห์หาสาเหตุที่แท้จริงของปัญหา และการนำเครื่องมือมาใช้ในการวิเคราะห์เพื่อหาสาเหตุที่แท้จริง
- การแก้ไขปัญหาโดยเน้นการแก้ไขอย่างสร้างสรรค์ เน้นการตัดสินใจที่ถูกต้อง เหมาะสมกับสถานการณ์
หาแนวทาง สรุปแนวทาง ตัดสินใจที่จะแก้ไขปัญหา โดยใส่ความคิดสร้างสรรค์ รวมทั้งมีแนวทางการป้องกันปัญหาในอนาคต
- การติดตามผลและประเมินผล
เป็นการติดตามการแก้ไขปัญหานั้นและสรุปข้อมูลทุกอย่างในภาพรวม
วิทยากรผู้เชี่ยวชาญด้าน Problem Solving and Decision Making
iPlus Center ขอแนะนำ
คำถามที่พบบ่อยในหลักสูตรการแก้ปัญหาและตัดสินใจ
A.1
ประโยชน์ต่อฝ่ายบุคคล จะทำให้ฝ่ายบุคคลได้พัฒนาบุคลากรในแง่ของการคิด วิเคราะห์ปัญหา การตัดสินใจในการแก้ปัญหาเพราะในแต่ละระดับของบุคลากรในองค์กร ย่อมต้องเผชิญปัญหาเป็นเรื่องธรรมดา ทำให้แต่ละแผนกมีกระบวนการในการแก้ปัญหาด้วยตัวเอง
ประโยชน์ต่อผู้บริหาร จะทำให้บุคลากรที่ได้รับการอบรมหลักสูตรดังกล่าว ได้รับความรู้ ความเข้าใจอย่างถูกต้อง เหมาะสม เพื่อนำมาแก้ไขปัญหาและตัดสินใจในปัญหาอย่างถูกต้อง ชัดเจนและเป็นระบบมากยิ่งขึ้น
ประโยชน์ต่อองค์กรในภาพรวม ทำให้ปัญหาที่เกิดขึ้น ไม่กลายเป็นปัญหาเรื้อรังในระดับองค์กร เพราะหากเป็นปัญหาที่แก้ไขได้ยากแล้ว ย่อมส่งผลเสียหายทั้งปัญหาที่มองเห็นและปัญหาที่มองไม่เห็น
A.2
การแก้ปัญหาและตัดสินใจ บางสถานการณ์ต้องใช้การวิเคราะห์และขั้นตอนการแก้ไขปัญหาที่ถูกต้อง บางสถานการณ์ต้องขับเคลื่อนด้วยภาวะผู้นำ หรือบางสถานการณ์ต้องให้องค์กรมีปัจจัยส่งเสริมบางอย่าง เพื่อการแก้ไขปัญหานั้นๆ อาจจะไม่สามารถจัดการปัญหาได้ 100% แต่แนวทางและระบบที่ถูกต้อง จะทำให้เกิดการสั่งสมความรู้ ประสบการณ์ในการแก้ไขปัญหานั้นๆ หรือ ไม่ทำให้ปัญหานั้นใหญ่ไปมากกว่าเดิม