การบริหารโครงการอย่างมืออาชีพ

การบริหารโครงการอย่างมืออาชีพ

การบริหารโครงการอย่างมืออาชีพ

 

หลักสูตรอบรม : การบริหารโครงการอย่างมืออาชีพ (Professional Project Management)

ระยะเวลาหลักสูตร : 1 วัน / 6 ชั่วโมง

หลักการและเหตุผล (PRINCIPLES) :

เป็นที่ยอมรับกันว่าในการดำเนินภารกิจขององค์การทั้งหลาย ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และองค์กรพัฒนาเอกชน แนวคิดเรื่องการบริหาร

โครงการถือเป็นกลไกสำคัญ ในการผลักดันให้งานด้านต่างๆ ขององค์กรเหล่านี้ สามารถดำเนินกิจกรรม เพื่อการแก้ไขปัญหาทั้งภายในและ

ภายนอกองค์การ หรือเพื่อการปรับปรุงการให้บริการ หรือการพัฒนารูปแบบและแนวทางในการนำเสนอสินค้าหรือบริการใหม่ ๆ ตลอด

จนการบริหารการพัฒนาด้วยการลงทุนเพื่อให้บริการสาธารณะด้านต่างๆ สามารถนำไปสู่ความสำเร็จตามกลยุทธ์ที่วางไว้อย่างมี

ประสิทธิภาพและได้ประสิทธิผล ดังนั้น ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับการวางแผนและการบริหารโครงการ จึงมีคุณค่าและคุณประโยชน์อย่างยิ่ง

สำหรับนักบริหารในกิจการทุกประเภท

หลักสูตรการวางแผนและการบริหารโครงการอย่างมืออาชีพ เป็นหลักสูตรที่มีสาระสำคัญครอบคลุมการบริหารและการจัดการตามวงจร

โครงการ (Project Cycle Management) โดยคำนึงถึงการประยุกต์แนวความคิดและแนวทางการปฏิบัติของนักบริหารมืออาชีพเริ่ม

ตั้งแต่ ด้านแรก การวางแผนโครงการซึ่งครอบคลุมในส่วนของ การกำหนดแนวคิดโครงการที่สอดคล้องกับเจตนารมณ์เชิงกลยุทธ์ของ

กิจการ การศึกษาความเป็นไปได้และการประเมินโครงการ การจัดทำเอกสารโครงการทั้งในรูปของ Logical Framework และในเชิง

พรรณาความ กับ ด้านที่สอง การบริหารโครงการที่เริ่มจาก การตัดสินใจในการคัดเลือกและอนุมัติงบประมาณโครงการ การวางระบบการ

จัดการโครงการ การจัดองค์กรโครงการ การติดตาม การควบคุม และการประเมินผลโครงการ

วัตถุประสงค์ (OBJECTIVES) :

  1. เพื่อให้เกิดความรู้และความเข้าใจในกระบวนการ และขั้นตอนของการบริหารโครงการ
  2. เพื่อให้สามารถนำความรู้และทักษะการบริหารโครงการไปประยุกต์ใช้กับการบริหารโครงการได้จริงอย่างมีประสิทธิภาพ

หัวข้อการอบรม (AREAS OF STUDY) :

  1. บทบาทของผู้จัดการโครงการในการบริหารและการจัดการโครงการให้ประสบผลสำเร็จ
  2. การวางแผนโครงการและการใช้แนวคิดLogical Framework เป็นแนวทางในการจัดทำเอกสารโครงการ
  3. ความสัมพันธ์ระหว่างกลยุทธ์ขององค์การและวงจรโครงการ(Project Cycle)
  4. หน้าที่ของการบริหารโครงการ (Project Management Functions)
  5. การบริหารความเสี่ยงในการดำเนินงานของโครงการ (Project Risk management)
    • การระบุความเสี่ยง
    • การประเมินความเสี่ยง
    • การตอบโต้ความเสี่ยง (การลด การถ่ายโอน การแบ่งปันความเสี่ยง)
    • การวางแผนการตอบโต้ความเสี่ยง และงบประมาณสำรอง (budget reserve management reserve)
  6. ภาวะผู้นำ : การสร้างทีมงานโครงการ
    • การระบุผู้มีส่วนร่วมเกี่ยวข้องกับโครงการ (Project stakeholder)
    • การสร้างความร่วมมือและความไว้วางใจ
  7. การบริหารทรัพยากรบุคคลของโครงการ และ การบริหารการสื่อสารของโครงการ (Project Human Resources Management & Project Communication Management)
  8. การนําเสนองานกลุ่ม (Project Presentation & Comments)
  9.  การประเมินและวัดความก้าวหน้าการดำเนินโครงการ
    • วงจร “ การวางแผน-ตรวจติดตาม-ควบคุม ” เวลา ค่าใช้จ่าย ผลการดำเนินงาน
  10. การติดตามตรวจสอบและควบคุมโครงการ และ การปิดโครงการ (Project Monitoring & Control & Project Closeout)

กลุ่มเป้าหมาย (TARGET PARTICIPANTS) :

  1. ผู้บริหารระดับสูง
  2. ผู้จัดการระดับ Middle Manage (หรือ สูงกว่า)
  3. ฝ่ายแผนยุทธศาสตร์ /ฝ่ายกลยุทธ์องค์กร /หน่วยงานบริหารความเสี่ยง /ควบคุมภายใน และผู้ที่เกี่ยวข้อง

 

Project Management – เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง