1.ความต้องการที่แท้จริงของโครงการนั้น ไม่ได้มีการเก็บข้อมูลอย่างเป็นระบบและชัดเจนเพียงพอ
ความต้องการที่แท้จริงของโครงการ จะเป็นสิ่งที่บ่งบอกได้อย่างชัดเจนว่าโครงการนั้นๆ ถูกสร้างมาเพื่อประโยชน์อะไร? กับองค์กร…ซึ่งสิ่งที่จะทำให้ผู้ที่รับผิดชอบในโครงการเข้าถึงข้อมูลเพื่อสร้างประโยชน์นั้นได้ ย่อมมาจากการเก็บข้อมูลที่เป็นระบบและชัดเจนเพียงพอ มิฉะนั้นแล้วหากความต้องการมีความคลาดเคลื่อน อาจทำให้โครงการสะดุดกลางคันได้
2.ความต้องการมีการปรับเปลี่ยนอยู่ตลอดเวลา
ความต้องการของผู้บริหาร และผู้ที่รับผิดชอบทั้งหมดในโครงการ เมื่อได้ทำการสรุปเป็นอย่างดีและตกลงเรียบร้อยแล้ว จำเป็นต้องมีความแน่วแน่ในการดำเนินการ เพราะมิฉะนั้น เมื่อความต้องการปรับเปลี่ยน แนวทางดำเนินการต่างๆย่อมเปลี่ยนตาม ซึ่งหากปรับเปลี่ยนบ่อย ก็จะทำให้โครงการไม่แล้วเสร็จได้
3.ผู้บริหารยังไม่ทำการสนับสนุนโครงการนั้นๆอย่างเต็มที่
หากโครงการที่ได้ถูกคัดเลือกมาเป็นอย่างดีจากทางองค์กร ซึ่งการดำเนินงานของผู้ที่รับผิดชอบทั้งหมดในโครงการ ย่อมจะต้องเผชิญกับการบริหารจัดการทรัพยากร การแก้ไขปัญหาต่างๆ ทั้งที่คาดการณ์ได้และคาดการณ์ได้ยาก ซึ่งจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องได้รับความสนับสนุนจากทางผู้บริหารอย่างเต็มที่เพื่อให้ภารกิจลุล่วงไปได้
4.ขาดทรัพยากรที่สำคัญๆในการทำโครงการ
สิ่งที่เป็นปัจจัยหลักอย่างหนึ่งในการทำโครงการ ก็คือทรัพยากรสำคัญ ซึ่งเป็นปัจจัยหลักในความสำเร็จของโครงการ ซึ่งหากโครงการดังกล่าวเป็นโครงการที่มีความสำคัญ ทางผู้รับผิดชอบในโครงการจะต้องทำการวางแผน เพื่อให้ได้มาซึ่งทรัพยากรนั้นหรือหาทางปรับเปลี่ยนเป็นทรัพยากรที่สามารถทดแทนกันให้ได้ในท้ายที่สุด
5.ผลลัพธ์ที่ได้จากโครงการไม่ตอบสนองผู้ใช้งานอย่างแท้จริง
“ความง่าย” ในการใช้งานจากผลลัพธ์ของโครงการ เป็นสิ่งที่ผู้ใช้งานพึงคาดหวังเป็นอย่างมาก และสิ่งนี้จะเป็นสิ่งที่ชี้ชัดได้ว่าโครงการนั้นจะประสบความสำเร็จมากน้อยเพียงใด โดยเฉพาะในยุคปัจจุบัน ที่ผู้ใช้งานได้มีประสบการณ์ มีทางเลือกในการใช้งานในสื่งต่างๆรอบตัว ด้วยความง่าย ความสะดวกเป็นสำคัญ