Lecture
Group Discussion
Workshop
หลักสูตรอบรม : การวิเคราะห์ และแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ (Problem Analysis and Solving)
รูปแบบการอบรม : In-House Traing / Online Training
ระยะเวลาหลักสูตร : 1 วัน / 6 ชั่วโมง
ในการทำงานบ่อยครั้งมักเกิดคำถามขึ้นว่า “ปัญหาคืออะไร” และมักไม่ได้รับคำตอบจากผู้ที่เกี่ยวข้อง หรือปัญหานั้นไม่ได้รับการแก้ไขอย่างแท้จริง ซึ่งเห็นได้จากการที่ปัญหาเดิมเกิดขึ้นซ้ำอยู่เสมอ ยิ่งไปกว่านั้นคือมีคนจำนวนมากมักจะแก้ปัญหาจากประสบการณ์และความรู้สึก หรือใช้อารมณ์ ทำให้การแก้ไขไม่มีแนวทางที่ชัดเจน และไม่สามารถทำงานให้สำเร็จตามเป้าหมายได้ หลักสูตรนี้ จึงมุ่งเน้นให้ผู้เข้าอบรมได้ทราบวิธีการและขั้นตอนการวิเคราะห์หาประเด็นปัญหา และแนวทางการแก้ไขปัญหาอย่างเป็นรูปธรรมทั้ง 5 ขั้นตอน อีกทั้งได้ทดลองฝึกใช้เครื่องมือการแก้ปัญหาและการตัดสินใจอย่างเป็นระบบ เพื่อนำเทคนิค และแนวทางดังกล่าวไปใช้ในการพัฒนาทักษะการแก้ไขปัญหาและการตัดสินใจของตน และองค์กรอย่างมีประสิทธิผลมากขึ้น
วัตถุประสงค์ :
- เพื่อให้ผู้เข้าอบรมตระหนักถึงความสำคัญของการยอมรับปัญหากระบวนการแก้ไขปัญหาและตัดสินใจอย่างเป็นระบบ
- เพื่อให้ผู้เข้าอบรมสามารถอธิบายแนวคิดวิเคราะห์เป็นระบบที่ใช้ในการวิเคราะห์ เพื่อแก้ปัญหาได้
- เพื่อให้ผู้เข้าอบรมเรียนรู้และฝึกใช้งานขั้นตอนการแก้ไขปัญหาและการ ตัดสินใจอย่างเป็นระบบ
- เพื่อให้ผู้เข้าอบรมคิดวิเคราะห์ด้วยเครื่องมือการคิดนวัตกรรมในการ แก้ปัญหา และการตัดสินใจอย่างมีประสิทธิภาพ
- เพื่อให้ผู้เข้าอบรมระบุแนวทาง Implement เพื่อแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบจากกิจกรรม และ Workshop ได้
หัวข้อการอบรม :
- ความสำคัญและประโยชน์ของการแก้ไขและตัดสินใจอย่างเป็นระบบ
- ความหมายของคำว่า “ปัญหา”
- กระบวนการแก้ไขปัญหาอย่างเป็นระบบ
1. การวิเคราะห์ปัญหา
– เครื่องมือการหาปัญหา
– เครื่องมือการเลือกและจัดลำดับความสำคัญของปัญหา
– การกำหนดปัญหาที่ถูกต้อง (Statement of Problem)
2. การแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า
– การประเมินผลกระทบของปัญหา
– การสื่อสารกับการแก้ไขปัญหา
3. การหาสาเหตุที่แท้จริงของปัญหา
– การเก็บข้อมูลเพื่อวิเคราะห์ปัญหาอย่างเป็นระบบ 3W1E
– การวิเคราะห์หาสาเหตุโดยใช้หลัก Why-Why Analysis
– การวิเคราะห์หาสาเหตุโดยใช้หลักผังก้างปลา
4. การแก้ไขปัญหาอย่างสร้างสรรค์
– การหาแนวทางการแก้ไขปัญหาอย่างสร้างสรรค์โดยหลัก Brain Storming
– การหาแนวทางการแก้ไขปัญหาอย่างสร้างสรรค์โดยหลัก Brain Writing
– การหาแนวทางการแก้ไขปัญหาอย่างสร้างสรรค์โดยหลัก KJ
– การเลือกวิธีการการแก้ไขปัญหาอย่างมีเหตุผล
– การป้องกันปัญหาไม่ให้เกิดซ้ำโดยหลัก Poka Yoke
5. การติดตามผลและประเมินผล
- การประชุมเพื่อแก้ไขปัญหาอย่างเป็นระบบ
- กระบวนการตัดสินใจอย่างเป็นระบบ / กรณีศึกษา 3 กรณี
• ทำไมต้องตัดสินใจ
• การกำหนดเกณฑ์ในการตัดสินใจ
• การเปรียบเทียบและวิเคราะห์ทางเลือกต่างๆ ในการตัดสินใจ
• การวิเคราะห์ความเสี่ยงในการตัดสินใจ
- กิจกรรมฝึกแก้ไขปัญหาและตัดสินใจโดยประเด็นจริงขององค์กร
วิทยากรโดย :
อาจารย์สุรเจต เกิดศุข
- อดีต ผู้จัดการ บมจ. ร่วมทุนระหว่างปูนซีเมนต์ไทย กับ SCG-DOW GROUP
- อดีต ผู้เชี่ยวชาญและที่ปรึกษาอาวุโสฝ่ายทรัพยกรมนุษย์ SCG-DOW GROUP
- อดีต ที่ปรึกษาด้านการเพิ่มผลผลิต บริษัท ไอ.อี.เอส.ซี จำกัด
- อดีต ผู้ช่วยผู้จัดการโรงงาน บริษัท คาร์กิล สยาม จำกัด
- ฯลฯ