KPIs : Workshop Program for Designing Effective KPIs
หลักการและเหตุผล (PRINCIPLES) :
การกำหนดตัวชี้วัดที่สำคัญในงาน (KPIs) เพื่อให้ง่ายต่อการวางแผนการปฏิบัติ และการติดตามงานได้รับความนิยมจากองค์กรต่างๆในการนำมาใช้เป็นเครื่องมือในการบริหารผลงาน และการจ่ายค่าตอบแทน แต่หลายองค์กรยังมีปัญหาในการกำหนด KPIs ให้กับหน่วยงานต่างๆ ได้อย่างเหมาะสมและยุติธรรมในการทำงาน อาทิเช่น
- แต่ละฝ่ายงานมี KPIs จำนวนแตกต่างกันมาก /บางหน่วยงานมีเพียงไม่กี่ตัวในขณะที่บางหน่วยงานมีหลายสิบตัว
- KPIs หลายตัวทำไม่สำเร็จ เนื่องจากต้องอาศัยความร่วมมือจากฝ่ายงานอื่นๆ ร่วมทำด้วย
- สิ่งที่วัดเป็นสิ่งที่ก่อให้เกิดมูลค่าเพิ่มต่อองค์กร และหน่วยงานหรือไม่? หรือวัดเพียงกิจกรรมงานประจำที่พนักงานทำแต่อาจไม่ส่งผลที่มีนัยสำคัญต่อความสำเร็จของหน่วยงาน และกลยุทธ์ขององค์กร
- ไม่สามารถเก็บข้อมูลมาวัดผลได้ KPIs ได้ เป็นต้น
หลักสูตรนี้ผู้เข้าอบรมจะเข้าใจ และสามารถกำหนด KPIs ของหน่วยงานได้อย่างถูกต้องมากยิ่งขึ้น สามารถอธิบายได้ว่าทำไมต้องเลือกใช้KPIs นี้ในการบริหารผลงานเพื่อเป็นที่ยอมรับขององค์กรและพนักงานในหน่วยงานนั้นๆได้
วางรากฐานที่มีคุณภาพและมั่นคงให้กับองค์กรการปฏิบัติงานภายในองค์กรคือภารกิจสำคัญอย่างมากต่อองค์กรในด้านต่างๆ หากหลักการในการ ชี้วัด และประเมินการปฏิบัติงานภายในองค์กรไม่มีหลักการรองรับหรือมีแต่ไม่เพียงพอ ย่อมส่งผลโดยตรงกับรากฐานขององค์กร ในระยะสั้นอาจจะพอดำเนินการได้ แต่หากมีปัจจัยแทรกเข้ามาเมื่อไหร่ เช่นสถานการณ์ ปรืมาณคน เป้าหมายใหม่ ย่อมทำให้เกิดผลกระทบได้ทันที |
ป้องกันปัญหาสำคัญที่มีแนวโน้มจะเกิดขึ้นในอนาคตกับองค์กรเรื่องการชี้วัดและการประเมินเกี่ยวกับการปฏิบัติงานเป็นเรื่องที่อ่อนไหว และมีผลกระทบในหลายๆหน่วยงาน ซึ่งจะส่งผลกับภาพรวมในที่สุด จึงถือเป็นปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นได้อย่างแน่นอน มากน้อย ตามแต่ปัจจัย จึงถือเป็นสิ่งที่ควรวางระบบให้ถูกต้องและเหมาะสมที่สุดเพื่อลดการเกิดปัญหาต่างๆนั้น |
สร้างคุณภาพที่ดีอย่างก้าวกระโดดให้กับองค์กรหากการชี้วัดเป็นไปอย่างมีคุณภาพที่สุด ย่อมส่งผลกับประสิทธิภาพขององค์กรอย่างแน่นอนที่สุด เพราะจะทำให้ผู้ปฏิบัติงานสามารถใช้ศักยภาพได้อย่างเต็มที่ที่สุด ตามความรับผิดชอบ และถือเป็นการสร้างคุณภาพทั้งในระยะสั้น กลาง และยาวได้เป็นอย่างดี |
เน้นการบริหารต้นทุนและการสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันการบริหารต้นทุน ย่อมถูกบริหารจัดการได้ดี หากกระบวนการชี้วัดเป็นไปอย่างถูกต้องและเหมาะสม สร้างความแตกต่างได้อย่างมหาศาล แม้เพียงช่วงเริ่มต้นจะดูเหมือนเป็นสิ่งที่เล็กน้อย ความได้เปรียบทางการแข่งขัน ถือเป็นปัจจัยแรกๆที่เกิดจากการมีตัวชี้วัดที่มีคุณภาพ เพราะสิ่งที่ติดค้างอยู่หรือสิ่งที่จะทำให้กระบวนการปฏิบัติงานสะดุดจะถูกโฟกัสเป็นอันดับต้นๆ |
แก้ไขปัญหาสำคัญ / เรื้อรัง / เร่งด่วนภายในองค์กรปัญหาด้านตัวชี้วัดและการประเมินผล เป็นปัญหาอันดับต้นๆขององค์กรโดยส่วนใหญ่ ด้วยเหตุเพราะมีปัจจัยมากมายมหาศาลที่จะส่งผลกระทบทั้งในแง่มุมที่ดีและไม่ดี และเป็นสิ่งที่ต้องใช้ความพิถีพิถันในการเข้าใจอย่างลึกซึ้ง ถูกต้องและเหมาะสมจริงๆเฉพาะแต่ละองค์กร หากมีสิ่งที่ต้องปรับปรุงก็สามารถพัฒนาต่อได้อย่างต่อเนื่องเพื่อให้ปัญหาทุกชนิดคลี่คลายให้มากที่สุด |
วิทยากร
– ผู้เข้ารับการอบรมจะได้พบกับ ดร.บดี ตรีสุคนธ์ ผู้ที่มีความเชี่ยวชาญในด้านการทำงานด้านทรัพยากรบุคคลมาโดยตลอด ในองค์กรชั้นนำ โดยมีประสบการณ์เกือบ 20 ปีจากการเป็นทั้งผู้บริหาร ที่ปรึกษาทั้งภาครัฐ รัฐวิสาหกิจและองค์กรเอกชน (ประวัติ ดร.บดี ตรีสุคนธ์)
เนื้อหาการบรรยาย
– เน้นผู้เข้าอบรม ให้เข้าใจถึงหลักการในการจัดทำ KPI ในภาพรวมและภาพย่อยที่เชื่อมโยงกันอย่างถูกต้องและเหมาะสม
– ตระหนักถึงความสำคัญและประโยชน์ของการจัดทำ
– วิเคราะห์สาเหตุของปัญหาเชิงลึก จนถึงที่มาที่ไปของปัญหา โดยมุ่งเน้นเพื่อให้เกิดการนำความรู้ไปพัฒนาเองได้ต่อไป
เครื่องมือหลักในการบรรยาย
– หลักการวิเคราะห์ความเชื่อมโยงต่างๆ อาทิเช่น KRA : Key Result Areas / Job description / Job Spec / Competency โดยขึ้นอยู่กับองค์กรที่จะนำหลักการใดมาทำการอ้างอิง
– วิธีการกำหนดตัวชี้วัดเชิงปริมาณ เชิงคุณภาพ
– ความแตกต่างของ Accountability, Responsibility, Job Task รวมทั้งปัจจัยอื่นที่ๆตามที่แต่ละองค์กรนำมาใช้
วัตถุประสงค์
- เพื่อให้ผู้เข้าอบรมเข้าใจการกำหนดตัวชี้วัดผลงานหลักของหน่วยงานที่มีมูลค่าเพิ่มในการส่งเสริมต่อเป้าหมายและความสำเร็จขององค์กร
- เพื่อให้ผู้เข้าอบรมมีความรู้ ความเข้าใจ กระบวนการและแนวทางการบริหารผลการปฏิบัติงานของผู้ใต้บังคับบัญชา (Performance Management) ให้สามารถปฏิบัติงานให้ได้ตามเป้าหมายที่กำหนด
- เพื่อให้ผู้เข้าอบรมเข้าใจหลักการสามารถกำหนด KSA (Key Success Areas) และ KPIs (Key Success Indicators) ภายใต้กรอบ 4 มุมมองในระบบ Balanced Scorecard ได้
- เพื่อให้ผู้เข้าอบรมสามารถกำหนด KPIs จากงานที่เห็นผลชัดเจนเป็นรูปธรรม และยุติธรรมสำหรับทุกฝ่ายได้อย่างมีประสิทธิภาพ
หัวข้อการอบรม
- ภาพรวมของการวางแผน (Corporate Planning)
- แนวคิดของระบบบริหารงานตามเป้าหมายการปฏิบัติงาน (Performance Management)
- ประโยชน์ที่ได้รับจากการจัดทำตัวชี้วัดผลงานด้วย KPIs
- (ตัวอย่าง) เป้าหมายระดับต่างๆ(Vision/ Mission/ Strategies/ Goals)
- ความหมายของ KSA (Key Success Area) และ KPIs
- เทคนิคในการหา KPIs ด้วยการเขียนขั้นตอนในงาน
- การสร้างKPI ที่สะท้อนความสาเร็จสูงสูดขององค์กร
- ฝึกปฏิบัติจริง (หา KPIs ตามวิธีที่กำหนด)
- การให้น้ำหนักความสำคัญ
- การสร้างมาตรฐานผลงาน
- ตัวอย่างการประยุกต์ใช้ KPIs ในการประเมินผลงาน
- (ตัวอย่าง) เป้าหมายระดับต่างๆ (Vision/ Mission/ Strategies/ Goals)
- Workshop: ทบทวนเป้าหมายขององค์กร /นโยบาย/เป้าหมายการผลิต
- Workshop: กระจายเป้าหมายองค์กรสู่หน่วยงาน
- Workshop: เชื่อมโยงเป้าหมายไปยังฝ่ายงานที่เกี่ยวข้อง
- Workshop: การสร้าง KPIs ที่สะท้อนความสำเร็จสูงสูดขององค์กร
- การสร้างKPI ที่สนับสนุนหน่วยงานอื่นๆ
- การสร้างKPI ที่ส่งสริมกระบวนการทำงานที่สำคัญ
- Workshop การกำหนด KPIs ระดับหน่วยงาน
- (ตัวอย่าง) การประยุกต์ใช้ KPIs ในการประเมินผลงาน
iPlus Service
บริการปรับเนื้อหาหลักสูตรร่วมกับ
วิทยากรเพื่อให้ได้เนื้อหาตรงตาม
วัตถุประสงค์มากที่สุด
บริการประสานงานและจอง
ตารางอบรมของวิทยากร
ออกใบเสนอราคา / ใบแจ้งหนี้
ใบเสร็จ / ใบกำกับภาษีเต็มรูปแบบ
(เพื่อใช้ในประกอบการลดหย่อนภาษี 200 %)
เจ้าหน้าที่ประสานงานอำนวย
ความสะดวกในวันที่จัดสัมมนา
ป้ายชื่อประจำตัวสำหรับ
ผู้เข้าอบรมสัมมนา
เอกสารคู่มือประกอบการสัมมนา
(Handouts)
ข้อสอบ ประเมินความรู้ ก่อน – หลัง สัมมนา ในบางหลักสูตร
(Pre test – Post test)
เอกสารประเมินผลความพึงพอใจ
(Evaluation of satisfaction)
ประกาศณียบัตรมอบให้หลังจบ
การสัมมนา (บางหลักสูตรเท่านั้น)
Reportสรุปผลการอบรมและรูป
บรรยากาศการอบรม (DVD หรือ
Share Drive) หลังเสร็จสิ้นการอบรมสัมนา iPlus
KPIs : Workshop Program for Designing Effective KPIs
วิทยากรและที่ปรึกษา : ดร.บดี ตรีสุคนธ์ (ประวัติวิทยากร)